ฟันคุดคืออะไร จำเป็นต้องผ่าฟันคุดหรือไม่
ฟันคุด คือฟันกรามซี่ที่สาม ซึ่งเป็นฟันลำดับสุดท้ายของการขึ้นของฟันทั้งหมด โดยจะขึ้นในช่วงอายุประมาณ 18-20 ปี แต่ส่วนใหญ่แล้วมักจะไม่สามารถขึ้นมาได้เองตามปกติ ทั้งนี้คนไข้บางรายฟันคุดสามารถขึ้นมาได้เองตามปกติ หรือขึ้นมาไม่หมด ทันตแพทย์ทำการตรวจวินิจฉัยและเห็นถึงความเสี่ยงต่าง ๆ เช่น ยากต่อการดูแลทำความสะอาด เกิดการติดเชื้อ อักเสบ หรือเป็นอุปสรรคต่อการบดเคี้ยว เป็นต้น ทันตแพทย์จะทำการถอนฟันซี่นั้นออก
โรคที่อาจเกิดจากฟันคุด
- โรคฟันผุของฟันซี่ข้างเคียง
- อาการปวดบวมเนื่องมาจากการติดเชื้อ
- การเกิดถุงน้ำหรือซีสส์ในเหงือก
- โรคที่เกี่ยวกับเหงือกและขากรรไกร
ลักษณะอาการที่อาจเกิดจากฟันคุด
- ปวดบริเวณเหงือก
- เหงือกมีลักษณะบวมแดงหรือเป็นถุงน้ำในตำแหน่งด้านในสุดของฟันกรามซี่ที่สอง
- อาการบวมที่ลำคอหรือแก้ม
ขั้นตอนการรักษา
- พบทันตแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัย โดยอาจมีการถ่าย X-Ray ร่วมด้วยเพื่อประกอบการวินิจฉัยถึงสภาวะของอาการและรอยโรค
- ทันตแพทย์ซักประวัติด้านสุขภาพเพื่อบันทึกข้อมูล เช่น ประวัติโรคประจำตัว, การแพ้ยา, แพ้อาหารต่าง ๆ
- เตรียมพื้นที่บริเวณที่จะทำการผ่าตัด ทันตแพทย์จะฉีดยาชาระงับความรู้สึกเจ็บ
- เมื่อเสร็จกระบวนการรักษา ทันตแพทย์จะเย็บปิดปากแผลและทำความสะอาดในช่องปากเพื่อให้คนไข้รู้สึกสบายในช่องปากมากที่สุด
- ทันตแพทย์จะให้คำแนะนำและเกี่ยวกับการดูแลรักษาภายหลังการผ่าตัด