การตัดปุ่มกระดูกในช่องปาก
การผ่าตัดปุ่มกระดูกในช่องปาก เป็นการผ่าตัดเพื่อตัดปุ่มกระดูกออก จะเป็นการผ่าตัดเล็ก ใช้เวลาไม่นาน ประมาณ 30 – 50 นาที หลังผ่าตัดจะมีเครื่องมือ ที่เรียกว่า Stent ให้คนไข้ใส่ไว้เพื่อปิดแผล และป้องกันการแทกเวลารับประทานอาหาร หลังจากผ่าตัดประมาณ 1 สัปดาห์ก็มาตัดไหม
ลักษณะของเพดานปากที่นูนลงมาเป็นก้อนหรือเป็นปุ่ม มีความแข็ง พื้นผิวของปุ่มดังกล่าวปกคลุมด้วยเหงือกสีชมพู ที่มีลักษณะเช่นเดียวกับเหงือกบริเวณอื่น ๆ ในช่องปาก มีขนาดและรูปร่างแตกต่างกันในแต่ละคน และอาจมีขนาดใหญ่ขึ้นเมื่อมีอายุมากขึ้น
ปุ่มกระดูกที่พบในปาก สามารถแยกได้เป็น 3 แบบ ตามบริเวณที่พบ ได้แก่
- บริเวณด้านในของขากรรไกรบน-เพดานปาก (Torus palatinus)
พบบริเวณกึ่งกลางของเพดานปาก ส่วนใหญ่ที่พบจะมีลักษณะสมมาตรและขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 2 ซม. - บริเวณด้านในของขากรรไกรล่าง-ใต้ลิ้น (Torus mandibularis)
พบบริเวณเหงือกใต้ลิ้น ใกล้กับบริเวณฟันกรามน้อย (premolar) ส่วนใหญ่จะมีลักษณะสมมาตร (พบทั้งด้านซ้ายและขวา) โดยมากพบในคนไข้ที่นอนกัดฟันปุ่มกระดูกทั้ง 2 แบบนี้ พบได้บ่อยในชาวเอเชีย - บริเวณด้านนอกของขากรรไกร (Buccal exostosis)
เป็นปุ่มกระดูกที่พบบริเวณสันเหงือกด้านนอก พบได้ในขากรรไกรบนมากกว่าล่างมาก มักไม่ทำให้เกิดปัญหาหรือความเจ็บปวดใด ๆ ยกเว้นถ้ามีขนาดใหญ่มากอาจทำให้เป็นโรคเหงือกได้เนื่องจากขัดขวางการทำความสะอาด
การผ่าตัดเพื่อตัดปุ่มกระดูกออก
จะเป็นการผ่าตัดเล็ก ใช้เวลาไม่นาน ประมาณ 30 – 50 นาที หลังผ่าตัดจะมีเครื่องมือ ที่เรียกว่า Stent ให้คนไข้ใส่ไว้เพื่อปิดแผล และป้องกันการแทกเวลารับประทานอาหาร หลังจากผ่าตัดประมาณ 1 สัปดาห์ก็มาตัดไหม